เป้าหมายการเรียนรู้รายสัปดาห์ : เข้าใจและสามารถอธิบายสาระสำคัญและความหมายของสื่อแต่ละประเภทได้
Week
|
input
|
Process
|
Output
|
Outcome
|
2
17 – 21
ส.ค.58
|
โจทย์ : ประเภทของสื่อ
คำถาม
- สื่อแต่ละประเภทในปัจจุบัน
ส่งผลอย่างไรต่อตัวเรา
-
นักเรียนรับสื่อประเภทใดมากที่สุด เพราะเหตุใด
- นักเรียนคิดว่าสื่อมีกี่ประเภท
แต่ละประเภทมีลักษณะสำคัญอย่างไร
เครื่องมือคิด
- Round Rubin อภิปรายร่วมกันเกี่ยวกับข้อดีและข้อจำกัดของสื่อ
- Show and Share นำเสนอข้อมูลที่ได้สืบค้นเกี่ยวกับสื่อต่างๆ
- Mind mapping สรุปความเข้าใจเกี่ยวกับสิ่งที่ได้ดู
สื่อ / อุปกรณ์
- คลิปรายการ
กบนอกกะลา”เส้นทางหนังสือพิมพ์”
- คอมพิวเตอร์ / อินเตอร์เน็ต
|
จันทร์
ชง : ครูให้นักเรียนดูคลิปรายการ กบนอกกะลา”เส้นทางหนังสือพิมพ์”
- ครูใช้คำถามกระตุ้นความคิด
นักเรียนได้เรียนรู้อะไรจากสิ่งที่ได้ดู
เชื่อม : นักเรียนแสดงความคิดเห็นและ
สรุปความเข้าใจประเภทจากสิ่งที่ดูในรูปแบบการ์ตูนช่อง
อังคาร
ชง: ครูใช้คำถามกระตุ้นความคิด “นักเรียนรับสื่อหรือรับข่าวต่างๆจากสื่อประเภทใดมากที่สุดเพราะเหตุใด?”
เชื่อม : นักเรียนแต่ละคนร่วมแสดงความคิดเห็น
ชง: ครูใช้คำถามกระตุ้นความคิด
“นักเรียนคิดว่าสื่อมีกี่ประเภท แต่ละประเภทมีลักษณะสำคัญอย่างไร?”
เชื่อม : นักเรียนจับฉลากแบ่งกลุ่ม
กลุ่มละ 5-6คน และค้นคว้าข้อมูลเกี่ยวกับประเภทของสื่อ ข้อดี
และข้อจำกัดของสื่อแต่ละประเภท
ใช้ : นักเรียนแต่ละกลุ่มนำข้อมูลที่ได้สืบค้นมาร่วมกันวิเคราะห์และนำเสนอในรูปแบบของแผ่นชาร์ต
- นักเรียนแต่ละคนสรุปความเข้าใจด้วยตนเองเกี่ยวกับข้อมูลที่ได้อภิปรายร่วมกันในรูปแบบ
Mind Mapping
พุธ
<<<<<
กิจกรรมผู้ปกครองอาสา >>>>
พฤหัสบดี
ชง : ครูและนักเรียนร่วมกันทบทวนสิ่งที่ได้เรียนรู้ในชั่วโมงการเรียนรู้ที่แล้ว
เชื่อม : นักเรียนจับฉลากแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 3-4คน
และจับฉลากเลือกหัวข้อสื่อที่จะค้นคว้าเพื่อความเข้าใจต่อแก่นแท้ของสื่อแต่ละประเภท
เช่น สื่อหนังสือพิมพ์ สื่อการเรียนรู้
สื่อบุคคล สื่อโทรทัศน์ สื่อนิตยสาร วาสาร สื่อเทคโนโลยี และ สื่อธรรมชาติ
ใช้ : นักเรียนแต่ละกลุ่มนำข้อมูลที่ได้สืบค้นมาร่วมกันวิเคราะห์รูปแบบของแผ่นชาร์ต
ศุกร์
เชื่อม :
นักเรียนแต่ละกลุ่มนำเสนอข้อมูลและอภิปรายร่วมกันเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้
ตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมา
ใช้ : นักเรียนแต่ละคนสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
|
ภาระงาน
- วิเคราะห์ข้อมูลจากสิ่งที่ได้ดูในรูปแบบในรูปแบบการ์ตูนช่อง
- สรุปความเข้าใจของตนเองเกี่ยวกับสื่อในรูปแบบ
Mind Mapping
- สืบค้นและนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับประเภทของสื่อ
ข้อดีและข้อจำกัดในรูปแบบของแผ่นชาร์ต
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ชิ้นงาน
- การ์ตูนช่อง “เส้นทางหนังสือพิมพ์”
- Mind Mapping ความเข้าใจเกี่ยวกับสื่อ
- ชาร์ตข้อมูลเกี่ยวกับประเภทของสื่อ
-สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
|
ความรู้ : เข้าใจและสามารถอธิบายสาระสำคัญและความหมายของสื่อแต่ละประเภทได้
ทักษะ
ทักษะชีวิต
สามรถนำสื่อมาประยุกต์ใช้กับชีวิตประจำวันได้อย่างมีประโยชน์ถูกต้องเหมาะสม
ทักษะการสื่อสาร
สามารถอธิบายข้อมูลเกี่ยวกับสื่อ และเทคโนโลยีผ่านนิทาน
การ์ตูนช่องให้ผู้อื่นเข้าใจได้
ทักษะการจัดการข้อมูล
สามารถวิเคราะห์ สังเคราะห์ ข้อมูลเกี่ยวกับสื่อ
และเทคโนโลยีได้อย่างถูกต้อง
ทักษะการอยู่ร่วมกัน
สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นและยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
คุณลักษณะ
- รับฟังและกล้าแสดงความคิดเห็น
- กระตือรือร้นในการทำงาน
และการทำกิจกรรมจนสำเร็จ
- ทำงานให้สำเร็จอย่างมีเป้าหมาย
|





ตัวอย่างชิ้นงาน
- ตัวอย่างการ์ตูนช่องวิเคราะห์และสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการดูรายการ กบนอกะลา ตอน "เส้นท้างหนังสือพิมพ์"


- ตัวอย่างชาร์ตข้อมูลที่แต่ละกลุ่มร่วมกันสืบค้นเกี่ยวกับประเภทของสื่อ เพื่อนำเสนอต่อเพิ่อนและครู สำหรับการอภิปรายร่วมกัน





- หลังจากที่ได้ทำงานร่วมกับเพื่อเพื่อนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับสสื่อแล้ว แต่ละคนก็นำมาทำความเข้าใจกับตัวเองและถ่ายทอดในรูปแบบ MindMapping



- ตัวอย่างสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ตอบลบบันทึกหลังการเรียนรู้
สัปดาห์ที่ 2 คุณครูได้ให้พี่ๆได้ดูคลิปรายการ กบนอกกะลา ตอน เส้นทางหนังสือพิมพ์ หลังจากนั้นก็ได้ร่วมกันวิเคราะห์เกี่ยวกับสิ่งต่างๆที่ได้ดู แล้วก็ได้ให้ๆได้สรุปความเข้าใจออกมาในรูปแบบการ์ตูนช่อง ในวันต่อมาก็ได้ให้พี่ๆแบ่งกลุ่มกันค้นคว้าเกี่ยวกับประเภทสื่อต่างๆว่ามีกี่ประเภท อะไรบ้าง และสื่อแต่ละประเภทมีลักษณะเฉพาะอย่างไร แล้วนำเสนอ และอภิปรายร่วมกัน ความสำคัญ ของสัปดาห์นี้คือให้พี่ๆได้รู้จักประเภทของสื่อและแยกแยะสื่อแต่ละประเภทได้ เช่นพี่อ๋อมแอ๋มบอกว่าสื่อนิตยสาร วารสาร มีข้อมูลที่ชัดเจน เจาะลึกกว่าหนังสือพิมพ์ พี่เอสตอบว่าหนังสือพิมพ์ มีแต่การพาดหัวข้อข่าวที่เด่นสะดุดใจในการอ่านแต่ไม่ค่อยเนื้อหา เพราะว่าเขาอยากให้ติดตามข่าวในวันต่อมา หลังจากนั้นก็ได้ให้พี่สรุปองค์ความรู้ประจำสัปดาห์ค่ะ